เที่ยวเมืองเชียงราย

เที่ยวเมืองเชียงราย

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงราย

ที่มาของวิดีโอ : https://www.youtube.com/watch?v=LNcRAmmZJxE

           จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงของ เมืองเธริง หรือ เมืองเทิง ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำที่เป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3
                   จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณกาลประมาณ 750 ปีที่ผ่านมา มีอายุเก่าแก่กว่าจังหวัดเชียงใหม่ไปโดยประมาณ 50 กว่าปี มี"คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทเขิน จากสิบสอบปันนาผสมผสาน เข้าด้วยกัน และมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอนาคต จังหวัดเชียงราย กำลังพิจารณาวางแผนโครงการวางผังเมืองเป็นนครสร้างสรรค์ และ ถ้าเป็นไปได้ จังหวัดเชียงรายอาจจะกำลังพิจารณาสมัครเข้าเป็นนครสร้างสรรค์ของยูเนสโก รองถัดมาจากจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง ด้วยเช่นกัน
สมัยราชวงศ์มังราย
                   พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำกก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805
                   สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า

                   ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม
                   ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย


ที่มาของข้อมูล : https://th.wikipedia.org

เอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย

ตราประจำจังหวัดเชียงรายเป็นรูปช้างสีขาวใต้เมฆ
ที่มาของภาพ : http://www.chiangraifocus.com

ความหมาย
เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้ แล้วจึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธ ต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ. เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคล ของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออก พลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี   จึงได้สร้างเมืองใหม่ ขึ้นในที่นั่นให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนาม  เมืองว่า "เวียงเชียงราย" ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26  มกราคม พ.ศ. 1805 ดัง  นั้นจึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง  และอยู่เย็นเป็นสุข บน พื้นสีม่วงของวันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด  

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย

เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง


ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ต้นกาสะลองคำ
ที่มาของภาพ : https://sites.google.com
กาสะลองคำ (Radermachera ignea)  โดยเป็นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานให้เป็นไม้ประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเชียงราย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์   BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ  Tree Jasmine
ชื่ออื่น  กากี  สำเภาหลามต้น จางจืด สะเภา อ้อยช้าง ปีบทอง
ไม้ต้น  ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 6 - 20 เมตร เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นเปลาตรง
เปลือก  สีน้ำตาล เทา หรือน้ำตาลเข้ม 
บประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกตรงข้ามกัน ใบย่อย  2 – 5  คู่   แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอกถึง รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2 - 5 ซม. ยาว 5 - 12 ซม. ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนสอบแหลม ขอบใบเรียบ 
ดอก  สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5 - 10 ดอก ทะยอยบาน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4 - 7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26 - 40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก 
เมล็ด  แบนมีปีก
นิเวศวิทยา ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น ทางภาคเหนือ
ออกดอก มกราคม - เมษายน ผลัดใบก่อนออกดอก
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่งและหน่อ
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

พวงแสด
ที่มาของภาพ : http://xn--42c6apd0cib0hl5e5c9dsar.net

ชื่อสามัญ   Orange Trumpet, Flame Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์   Pyrostegia venusta., Miers 
ตระกูล     BIGNONIACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น  พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เป็นไม้ที่มีใบกลายเป็นมือสำหรับยึดเกาะและสามารถเลื้อยเกาะไปได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนจะเป็นสีเขียว และเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
ใบ   ลักษณะใบของพวงแสดจะเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบไปเป็นมือเกาะใบจะออกสลับกัน ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่งใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
ดอก  พวงแสดจะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกจะดกมากจนดูแน่นช่อมีกลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงายดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกจะยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อันและยาวอีก 2 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งจะอยู่ตรงกลาง เกสรตัวเมียมีสีตองอ่อน และจะยาวกว่าเกสรตัวผู้
สภาพการปลูก
การปลูกพวงแสดทำได้โดยการ นำกิ่งที่ได้จากการปักชำ หรือการตอนกิ่งมาปลูกลงหลุม โดยขุดหลุม ให้มีความกว้าง ลึก ประมาณ2 x 1.5 ฟุต แล้วใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วผสมดินกับมูลสัตว์หรือขี้ค้างคาว คลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมปลูกนำกิ่งที่จะปลูกวางลงกลางหลุมแล้วกลบดินรดน้ำ ให้ชุ่ม
การขยายพันธ์
ขยายพันธุ์โดย การตอน และการปักชำกิ่ง พวงแสดจะออกดอก ช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม ของทุกปี
การดูแล
แสง  พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งที่ชองแสงแดดจัด และสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร
น้ำ  
การให้ให้พวงแสด เมื่อต้นโตและแข็งแรงดีแล้ว ให้รดน้ำวันเว้นวันก็ได้ เพราะพวงแสดไม่ต้องการน้ำมาก
ดิน  
ดินสำหรับปลูกพวงแสด ควรเป็นดินร่วนที่มีส่วนผสมของปุ๋ยธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์หรืออื่น ๆ อยู่บ้างก็จะทำให้พวงแสดเจริญเติบโตได้ดี
ปุ๋ย  
ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการผสมดิน ปลูก เช่น ขี้ค้างคาว เป็นต้น และเมื่อต้นโตใกล้ถึงช่วงออกดอกก็ให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สำหรับเร่งดอกบ้างตามสมควร 


ที่มาของข้อมูล : https://sites.google.com/site/phimphidabutrchati/2xeklaksn/2-4dxkmi-praca-canghwad

อาเขตของจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
              ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
              ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา
              ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่ 


ที่มาของข้อมูล : http://www.chiangraifocus.com

แผนที่จังหวัดเชียงราย


ที่มาของข้อมูล : http://www.chiangraifocus.com


มี 16 อำเภอ   กิ่ง
อำเภอเมืองเชียงราย                           อำเภอขุนตาล                         อำเภอเชียงของ
อำเภอเชียงแสน                                 อำเภอเทิง                               อำเภอป่าแดด
อำเภอพาน                                         อำเภอแม่จัน                           อำเภอแม่ฟ้าหลวง
อำเภอแม่สรวย                                   อำเภอแม่สาย                         อำเภอเวียงป่าเป้า
อำเภอพญาเม็งราย                              อำเภอแม่ลาว                         อำเภอเวียงแก่น
อำเภอเวียงชัย                                      กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง            กิ่งอำเภอดอยหลวง


ที่มาของข้อมูล : http://www.sathai.com/Services/Province/?prv=13

ภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย

ภูมิประเทศ
จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่ มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตร[14]บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด

ภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือน(กุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม) มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือน(พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม) มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกายน กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 0.9 - 1.0 องศาเซลเซียส 2542 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิจะอยู่ที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง





ที่มาของข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki

ประชากรจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูงแต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ
คนไทยพื้นราบ
ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้
ไทยวน หรือคนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด
ไทลื้อ,ไทเขิน,ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน
ชาวไทยภูเขา
ประกอบด้วย อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง
ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า
บุลคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย
ชาวลาวอพยพ
คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย
ชาวจีน
ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี



ที่มาของข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki

ทรัพยากรของจังหวัดเชียงราย

ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีทั้งสิ้น 11.678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่ ในปี 2542 มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 2,365,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง เนื้อที่ 731,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพาน อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่ใจ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา อำเภอวังเหนือ และ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีเนื้อที่ 467,185 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ลาว อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
อุทยานแห่งชาติแม่ปืม มีเนื้อที่ 227,312 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอพาน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย, อำเภอแม่ใจ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
อุทยานแห่งชาติภูซาง เนื้อที่ 178,050 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงคำและอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
อุทยานแห่งชาติขุนแจ มีเนื้อที่ 168,750 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
วนอุทยาน
จังหวัดเชียงราย มีวนอุทยาน (Forest Park) ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่รัฐจัดไว้ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด จำนวน 27 แห่ง ดังนี้
วนอุทยานชาพันปี                                              วนอุทยานดอยกาดผี                          
วนอุทยานดอยพระบาท                                     วนอุทยานถ้ำผาแล                             
ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน                                   วนอุทยานน้ำตกขุนน้ำยาบวน
อุทยานน้ำตกดอนศิลา-ผางาม                          วนอุทยานน้ำตกตาดควัน  
วนอุทยานน้ำตกตาดสวรรค์                              วนอุทยานน้ำตกตาดสายรุ้ง              
วนอุทยานน้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ                             วนอุทยานน้ำตกแม่โท
วนอุทยานน้ำตกแม่สลอง                                  วนอุทยานน้ำตกวังธารทอง              
วนอุทยานน้ำตกศรีชมพู                                    วนอุทยานน้ำตกห้วยก้างปลา           
วนอุทยานน้ำตกห้วยตาดทอง                           วนอุทยานน้ำตกห้วยน้ำอุ่น
วนอุทยานน้ำตกห้วยแม่สัก                               วนอุทยานน้ำตกหัวแม่คำ 
วนอุทยานพญาพิภักดิ์                                        วนอุทยานภูชมดาว            
วนอุทยานภูชี้ฟ้า                                                  วนอุทยานริมโขง
วนอุทยานสันผาพญาไพร                                 วนอุทยานห้วยทรายมาน  
วนอุทยานห้วยน้ำช้าง

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ป่าไม้รูปแบบอื่นอีก ดังต่อไปนี้
สวนรุกขชาติ (Arboretum) - มีเพียงแห่งเดียว คือสวนรุกชาติโป่งสลี เทศบาลตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย มีพื้นที่ 668.75 ไร่ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นป่าเดิมที่เหลืออยู่และมีการปลูกต้นไม้อื่น ๆ แทรกบ้าง
ป่าสงวนแห่งชาติ (National Reserved Forest) - มีทั้งหมด 30 แห่ง มีพื้นที่รวม 4,485,966 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.46 ของพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ จำนวน 3,525,896 ไร่ พื้นที่มอบ สปก. จำนวน 960,070 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 513,683 ไร่ ป่าเพื่อการเกษตร 425,832 ไร่ และพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ 20,555 ไร่
ป่าชุมชน (Community Forest) - เป็นป่าธรรมชาติ ที่ชาวบ้านช่วยกันป้องกันรักษาเอาไว้ สำหรับเป็นแหล่งซับน้ำและใช้สอย ปัจจุบันมีการสร้างป่าชุมชนขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ของชุมชน
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า - มีเพียงแห่งเดียวคือ พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน มีพื้นที่ 2,711 ไร่

ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งแร่
ทังสเตน หรือ วุลแฟรม แร่ทังสเตนเป็นแร่ที่พบในเทือกเขาด้านตะวันตกของจังหวัด ในเขตอำเภอแม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า ซึ่งอาจเกิดเป็นแหล่งแร่อิสระเช่นซีไลท์และวุลแฟรม หรืออาจเกิดรวมกับแร่อื่น ๆ เช่น ดีบุก และพลวง
ดีบุกและพลวง แร่ทั้งสองประเภทเป็นแร่ในกลุ่มโลหะพื้นฐาน อาจเกิดร่วมกับแร่ทังสเตนมีอยู่มากในเทือกเขาด้านตะวันตก เช่นกัน แต่มีปริมาณและการผลิตน้อยกว่าทังสเตน
แมงกานีส เป็นแหล่งแร่ที่มีขนาดเล็ก เคยมีการผลิตในเขตอำเภอเทิง ปัจจุบันมีแปลงประทาน
ในเขตอำเภอพญาเม็งราย แต่ไม่มีการผลิต
ไพโรฟิลไลต์ และกัลก์ เป็นแร่ที่พบกระจายในเขตอำเภอเทิงและอำเภอเชียงของ แต่ไม่มีการผลิต
ดินขาว และบอลเคลย์ เป็นแร่ที่พบกระจายในอำเภอเวียงป่าเป้า มีผลผลิตจำนวนน้อย ปัจจุบันยังคงมีการผลิตบอลเคลย์จากเหมือง
หินปูนอุตสาหกรรม เป็นหินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ใช้ทำปูนขาวสำหรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง และอุตสาหกรรมน้ำตาล มีการผลิตหินปูนในเขตอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอป่าแดด และอำเภอเวียงชัย

ทรัพยากรน้ำ
แม่น้ำกก มีต้นกำเนิดในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอแม่จัน อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 7 บ้านสบกก ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน มีความยาวประมาณ 145 กิโลเมตร
แม่น้ำลาว ต้นกำเนิดจากภูเขาในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า แล้วไหลผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย ไปบรรจบกับ แม่น้ำกกที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีความยาวประมาณ 137 กิโลเมตร
แม่น้ำอิง ต้นน้ำเกิดจากหนองเล็งทรายก่อนเข้ากว๊านพะเยา ไหลผ่านอำเภอเทิง แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ ส่วนที่ไหลผ่าน จังหวัดเชียงราย ยาวประมาณ 136 กิโลเมตร
แม่น้ำจัน ต้นน้ำเกิดจากภูเขาสามเส้า ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่จันติดกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า) แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับแม่น้ำคำไหลไปบรรจบแม่น้ำโขง มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากภูเขาหิมาลัย ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วไหลผ่านอำเภอเชียงของ และอำเภอเวียงแก่น รวมความยาวที่ผ่านจังหวัดเชียงราย ประมาณ 94 กิโลเมตร
แม่น้ำคำ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง แล้วไหลผ่านอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 5 บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาวทั้งสิ้น ประมาณ 85 กิโลเมตร
แม่น้ำสาย ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ในเขตจังหวัดเชียงราย เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ประมาณ 31 กิโลเมตรมีน้ำไหลตลอดปี
แม่น้ำรวก ต้นน้ำเกิดในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า


ที่มาของข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki