เที่ยวเมืองเชียงราย

เที่ยวเมืองเชียงราย

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย

ตราประจำจังหวัดเชียงรายเป็นรูปช้างสีขาวใต้เมฆ
ที่มาของภาพ : http://www.chiangraifocus.com

ความหมาย
เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้ แล้วจึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธ ต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ. เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคล ของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออก พลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี   จึงได้สร้างเมืองใหม่ ขึ้นในที่นั่นให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนาม  เมืองว่า "เวียงเชียงราย" ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26  มกราคม พ.ศ. 1805 ดัง  นั้นจึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง  และอยู่เย็นเป็นสุข บน พื้นสีม่วงของวันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด  

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย

เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง


ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ต้นกาสะลองคำ
ที่มาของภาพ : https://sites.google.com
กาสะลองคำ (Radermachera ignea)  โดยเป็นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานให้เป็นไม้ประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเชียงราย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์   BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ  Tree Jasmine
ชื่ออื่น  กากี  สำเภาหลามต้น จางจืด สะเภา อ้อยช้าง ปีบทอง
ไม้ต้น  ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 6 - 20 เมตร เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นเปลาตรง
เปลือก  สีน้ำตาล เทา หรือน้ำตาลเข้ม 
บประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกตรงข้ามกัน ใบย่อย  2 – 5  คู่   แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอกถึง รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2 - 5 ซม. ยาว 5 - 12 ซม. ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนสอบแหลม ขอบใบเรียบ 
ดอก  สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5 - 10 ดอก ทะยอยบาน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4 - 7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26 - 40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก 
เมล็ด  แบนมีปีก
นิเวศวิทยา ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น ทางภาคเหนือ
ออกดอก มกราคม - เมษายน ผลัดใบก่อนออกดอก
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่งและหน่อ
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

พวงแสด
ที่มาของภาพ : http://xn--42c6apd0cib0hl5e5c9dsar.net

ชื่อสามัญ   Orange Trumpet, Flame Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์   Pyrostegia venusta., Miers 
ตระกูล     BIGNONIACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น  พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เป็นไม้ที่มีใบกลายเป็นมือสำหรับยึดเกาะและสามารถเลื้อยเกาะไปได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนจะเป็นสีเขียว และเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
ใบ   ลักษณะใบของพวงแสดจะเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบไปเป็นมือเกาะใบจะออกสลับกัน ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่งใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
ดอก  พวงแสดจะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกจะดกมากจนดูแน่นช่อมีกลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงายดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกจะยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อันและยาวอีก 2 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งจะอยู่ตรงกลาง เกสรตัวเมียมีสีตองอ่อน และจะยาวกว่าเกสรตัวผู้
สภาพการปลูก
การปลูกพวงแสดทำได้โดยการ นำกิ่งที่ได้จากการปักชำ หรือการตอนกิ่งมาปลูกลงหลุม โดยขุดหลุม ให้มีความกว้าง ลึก ประมาณ2 x 1.5 ฟุต แล้วใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วผสมดินกับมูลสัตว์หรือขี้ค้างคาว คลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมปลูกนำกิ่งที่จะปลูกวางลงกลางหลุมแล้วกลบดินรดน้ำ ให้ชุ่ม
การขยายพันธ์
ขยายพันธุ์โดย การตอน และการปักชำกิ่ง พวงแสดจะออกดอก ช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม ของทุกปี
การดูแล
แสง  พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งที่ชองแสงแดดจัด และสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร
น้ำ  
การให้ให้พวงแสด เมื่อต้นโตและแข็งแรงดีแล้ว ให้รดน้ำวันเว้นวันก็ได้ เพราะพวงแสดไม่ต้องการน้ำมาก
ดิน  
ดินสำหรับปลูกพวงแสด ควรเป็นดินร่วนที่มีส่วนผสมของปุ๋ยธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์หรืออื่น ๆ อยู่บ้างก็จะทำให้พวงแสดเจริญเติบโตได้ดี
ปุ๋ย  
ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการผสมดิน ปลูก เช่น ขี้ค้างคาว เป็นต้น และเมื่อต้นโตใกล้ถึงช่วงออกดอกก็ให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สำหรับเร่งดอกบ้างตามสมควร 


ที่มาของข้อมูล : https://sites.google.com/site/phimphidabutrchati/2xeklaksn/2-4dxkmi-praca-canghwad

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น