วัดร่องขุ่น
ที่มาภาพ : http://www.chiangrai-tour.com
วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของ
อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินของจังหวัดเชียงราย เพื่อมุ่งสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองและประกาศความยิ่งใหญ่ต่อคนทั้งโลกเพื่อถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติในนาม "White
Temple" ระยะเวลาในการสร้างนั้นไม่มีกำหนดจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ซึ่งได้วางแผนทุกอย่างไว้หมดแล้วทั้งลูกศิษย์ที่สานต่อและทุนทรัพย์
ประชาชนคนไทยต้องหาโอกาสสักครั้งเพื่อมาชมวัดร่องขุ่น งานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ให้ได้
ที่มาของข้อมูล : http://www.watrongkhun.org
ภูชี้ฟ้า
ภูชี้ฟ้า
เป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น
ติดชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอเทิง
จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติด้วยลักษณะหน้าผาปลายยอดแหลม
เป็นแนวยาวที่ชี้ไปบนฟ้า ทางฝั่งประเทศลาว จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า
"ภูชี้ฟ้า" นั่นเอง ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
นับเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ทั้งนี้ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง
"ภูชี้ฟ้า" เป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541
ด้วยเนื้อที่ประมาณ 2,500 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร
ไฮไลท์สำคัญของ
ภูชี้ฟ้า ต้องยกให้จุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม
อีกทั้งทิวทัศน์ของภูเขาสลับซับซ้อนดูกว้างไกล โดยในตอนเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมในหุบเขาเบื้องล่าง
มีพระอาทิตย์ขึ้นผ่านพ้นทะเลหมอก ท่ามกลางทุ่งหญ้า แซมด้วยทุ่งดอกโคลงเคลง
(ในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว) สวยงามราวกับภาพวาด
ที่มาภาพและข้อมูล : http://travel.kapook.com/view675.html
พระตำหนักดอยตุง
ที่มาภาพ : https://mintmujiee.wordpress.com
พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
มี พระชนมายุ 88 พรรษา โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า
หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงได้เลือกดอยตุง
ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียว กันสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
เมื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย
และมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุงพร้อมกันนี้ ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ
ปลูกป่าบนดอยสูงจึงกำเนิดเป็น โครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น
โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น
กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ
เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่าลาหู่
ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียว กันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้
ที่มาของข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki
ที่มาภาพ : http://chiangraiairportthai.com
สามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่ห่างจากเชียงแสนไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามถนนเลียบริมแม่น้ำโขง สบรวกเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขง
ซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว มาพบกับแม่น้ำรวก
ซึ่งกั้นดินแดนระหว่าง ประเทศไทยและประเทศพม่า จากจุดนี้
นักท่องเที่ยวจะมองเห็นฝั่งพม่าและลาวได้ถนัดชัดเจน สามเหลี่ยมทองคำ เป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักท่องเที่ยว
เพราะครั้งหนึ่ง เคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก เรียกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้
แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นที่ว่านี้อีกแล้ว คงเหลือแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบ
ของลำน้ำและเขตแดนของ 3 ประเทศเท่านั้นแต่ผู้คนก็ยังคงพากัน
เดินทางมาสัมผัสกับตำนาน สามเหลี่ยมทองคำ โดยมีที่มาของชื่อ
ว่าหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และลาวถูกฝรั่งเศสยึดครอง
ก็เกิดการค้าขายสินค้าด้วยระบบและเปลี่ยนกันขึ้นโดย ทางฝั่งพม่านั้นจะมีผ้าแพร
สินค้าจากจีน กระทะทองเหลือ และฝิ่นเป็นสินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนกับผ้าไหม
ทองคำแผ่น และทองคำแท่งของ พ่อค้าฝั่งลาว ซึ่งพ่อค้าลาวจำเป็น
ต้องล่องเรือตามลำน้ำโขงมาขึ้นที่บ้านป่าสัก เขตเมืองพงของ
พม่าซึ่งตั้งอยู่เหนือบ้านสบรวกของไทย ปีหนึ่ง ๆ มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันประมาณ 4-5
ครั้ง ทำให้บ้านป่าสักกลาย เป็นบริเวณขายที่เฟื่องฟูมากของสมัยนั้น
และเพราะการ และเปลี่ยนด้วยทองคำนี้เองจึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานบริเวณนี้
กันจนติดปากว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"
พิพิธภัณฑ์บ้านดำ
บ้านดำ หรือ
พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ตั้งอยู่ที่ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย สร้างขึ้นโดย อ.ถวัลย์
ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ที่มีฝีมือทางด้าน จิตรกรรม ประติมากรรม ได้สร้างงานด้านศิลปะไว้มากมาย
ทั้งทางด้านภาพเขียนและด้านประติมากรรมหลายชิ้น ลักษณะ ของ บ้านดำจะเป็นกลุ่มบ้าน
ศิลปะแบบล้านนา ทุกหลังทาด้วยสีดำ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “บ้านดำ” และยังเป็นสีที่ อ. ถวัลย์โปรดปราน อีกด้วย
ในบ้านแต่ละหลังจะประดับด้วยไม้แกะสลักที่มีลวดลายงดงาม
นอกจากไม้แกะสลักแล้วยังประดับด้วยเขาสัตว์ เช่น เขาควาย เขากวาง
และยังมีกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกช้าง เป็นต้น ถึงแม้อ.ถวัลย์
จะถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว แต่บ้านดำ ก็ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามา
สัมผัสความงดงามของที่แตกต่างไม่เหมือนใครของที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น